วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เบียร์สิงห์





ความเป็นมาของเบียร์ของสิงห์

พระยาภิรมย์ภักดี ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 เป็นโรงเบียร์แห่งแรกในประเทศไทยที่พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ อยู่เสมอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงเบียร์ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงที่สุดคือ พันล้าน ลิตรต่อปี และเป็นโรงเบียร์ที่ใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดเพื่อผลิต สินค้าคุณภาพภายใต้เครื่องหมายการค้า "สิงห์" "ลีโอ" และ "มิดไวด้า"

บริษัทฯ กระจายกำลังการผลิตไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการสร้างโรงเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตโซดา น้ำดื่ม อีก 6 แห่ง ความสามารถในการผลิตเบียร์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผนึกกับเครือข่ายการจัด จำหน่ายที่รองรับตลาดอย่างทั่วถึงทำให้บุญรอด ยืนผงาดอยู่ในแนวหน้าของผู้ผลิตเบียร์ตราบจนทุกวันนี้ ยิ่งบริษัทฯ ได้รับเกียรติบัตร ISO 9002 รับรองมาตรฐานการผลิต ยิ่งทำให้ผู้บริโภค มั่นใจในสินค้าของบุญรอดฯ เมื่อเห็นว่าตลาดโลกมีความต้องการสินค้าคุณภาพของบุญรอด บริษัทฯ จึงเสริมกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศเยอรมันด้วย โรงเบียร์อีก 2 แห่ง และร่วมทุนทำโรงเบียร์ในประเทศจีนอีก 1 แห่ง

ขณะเดียวกัน บุญรอดมีความสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดมา จึงเน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นหลัก นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมที่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ด้วยดีตลอดมา


Brand Awareness


สิงห์สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆโดยผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการสร้างภใช้ในการภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์สื่อและกิจกรรมต่างๆของแบรนด์
ใช้สื่อประเภท Outdoorเพื่อโฆษณาสินค้าและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เช่น Billboard, สื่อต่างๆบน BTS
นอกจากนั้นสิงห์ยังเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักในกิจกรรมต่างๆเช่น คอนเสริ์ต ละครเวที และในการแข่งขันกีฬาต่างๆ



Brand Loyalty


สิงห์จะสร้างความเป็น Brand Loyaltyให้เกิดกับผู้บริโภคโดยการรักษาคุณภาพของรสชาติและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับแบรนด์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพราะลูกค้าที่บริโภคสิงห์จะมีทั้งแบบที่บริโภคเพราะความชื่นชอบในรสชาติ และ บริโภคเพราะชื่นชอบในรสชาติและความเป็นแบรนด์สิงห์ ลูกค้าของสิงห์จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ กลุ่มลูกค้าระดับสูง และระดับกลางลูกค้าของแต่ละระดับจะมีความเป็น Brand Loyalty ที่ต่างกัน โดยกลุ่มลูกค้าระดับกลางจะมีความเป็น Brand Loyalty น้อยก่วากลุ่มลูกค้าระดับสูง เพราะ มีแบรนด์ทางเลือกที่เป็นคู่แข่งให้ลูกลูกค้าระดับกลางมีทางเลือกกว่ากลุ่มลูกค้าระดับสูงทำให้โอกาสในการที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปบริโภคสินค้าของแบรนด์อื่นมีโอกาสสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มนี้มีรายได้ปานกลางถึงน้อย ส่านลูกค้าระดับสูงจะมีความเป็น Brand Loyalty มากกว่าเพราะ มีรายได้สูงและมีกำลังซื้อที่มากกว่า



Perceived Quality


สิงห์เป็นแบรนด์ที่มีความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นแบรนด์ไทยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ทั้งในเรื่องของคุณภาพด้านรสชาติ การพัฒนาผลิตพันธ์และสินค้าอย่างต่อเนื่องและยังคงคุณภาพของสินค้าไว้ได้ดีเสมอมา การรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) โดยการทำโครงการโครงการ Singha Biz Courseเป็นโครงการที่จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กไทย ภายใต้แนวคิด คนคุณภาพ สังคมคุณภาพ ที่บริษัทยึดถือและเติบโตมาตลอด 75 ปี ที่ผ่านมาบริษัทให้การสนับสนุนและจัดทำโครงการเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านการศึกษาด้วยการให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนมานานกว่า 25 ปี มีนักเรียน จึงทำให้สิงห์เป็แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากคนไทยและในอีกหลายๆประเทศ





Brand Association

สิงห์จะใช้จะใช้ celebrityมาใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อโปรโมทสินค้าเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าของแบรนด์ทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้และเกิดการจดจำสิ่งที่แบรนด์นำเสนอแล้วสามารถนำมาเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้เมื่อผู้บริโภคนึกถึงกิจกรรมหรือเมื่อนึกถึงcelebrityที่สิงห์ใช้ในการสื่อสาร




Brand Extension

สิงห์มีการทำการตลาดโดยเน้นเจาะตลาดแบบไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้งเพื่อผลักดันเบียร์สิงห์ให้ผงาดขึ้นเป็นอินเตอร์แบรนด์ และตามประกบช้างในตลาดโลก จำเป็นจะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ และมุมมองสดแปลกใหม่และเป็นการตลาดยุคใหม่ที่เข้าถึงความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่เช่นกัน ดังนั้นการทำการตลาดของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น จากก่อนหน้านี้จะใช้สัญลักษณ์ สิงห์ บนพื้นเหลือง เพื่อสื่อถึงเบียร์สิงห์เท่านั้น มาถึงวันนี้การใช้สัญลักษณ์ สิงห์ บนพื้นเหลืองดังกล่าวได้ต่อยอดนำแบรนด์มาใช้ในไลน์ธุรกิจสินค้าใหม่คือกลุ่มเสื้อผ้า และเครื่องแต่งตัวต่างๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การทำตลาด ไลฟ์สไตล์ มาร์เกตติ้ง เพื่อทำให้แบรนด์สิงห์ที่มี เรื่องราว และ ความเป็นเอกลักษณ์ แสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน และเข้าไปมีส่วนร่วมในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยการนำเอา แฟชั่น มาเชื่อมโยงกับตราสินค้า ภายใต้กลยุทธ์การขยายแบรนด์ (Brand Extension) ที่ใช้ตราสินค้าที่มีอยู่เดิมนำมาเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ สู่ตลาดที่เป็นไลน์ที่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม

นายเมธี สุบรรณพงษ์ ID:1500315179
นางสาวชุติมา สมบัติ ID : 1500333958
นายนันทพันธ์ ธลาดลพรพิทักษ์ ID : 1500334139
นางสาวมยุเรศ หอมดอก ID : 1500334816
นายยศเทวินทร์ สันติเวส ID : 1500335011